แชร์

แคลเซียมกับโรคกระดูกพรุน โรคร้ายที่หลายคนไม่รู้ตัว

อัพเดทล่าสุด: 14 เม.ย. 2024
358 ผู้เข้าชม

แคลเซียมกับโรคกระดูกพรุน
แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญ  ประมาณร้อยละ 99 ของแคลเซียมในร่างกายใช้ในการสร้างกระดูกและฟัน เพิ่มความหนาแน่นให้มวลกระดูก ทำให้กระดูกมีความแข็งแรง ส่วนอีกร้อยละ 1 อยู่ในเลือดมีบทบาทควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การหดตัวของกล้ามเนื้อ การเต้นของหัวใจ การแข็งตัวของเลือดเมื่อมีบาดแผล  การทำงานของระบบประสาท และช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด


แคลเซียมไม่พอ เสี่ยงกระดูกพรุน
หากได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอร่างกายจะดึงแคลเซียมที่สะสมอยู่ในกระดูกออกมาใช้ เมื่อเกิดขึ้นเป็นประจำแคลเซียมในกระดูกจะถูกดึงออกมามาก จนกระทั่งกระดูกพรุนและเปราะ ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลงจึงเกิดโอกาสแตกหักได้ง่ายแม้ว่าได้รับแรงกระแทกเพียงเล็กน้อย


สาเหตุการเกิด โรคกระดูกเสื่อม และ กระดูกพรุน

  1. สาเหตุจากกรรมพันธุ์
    บุคคลในครอบครัว เช่น ปู่ ยา ตา ยาย ถ้าท่านเหล่านั้นมีอาการของโรคกระดูกพรุนอย่างชัดเจน โอกาสที่บุตรหลานจะมีอาการ เช่นกันนั้นสูงถึง 80% ส่วน 20% ที่เหลือนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะในการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย
  2. ยาสเตียรอยด์
    ที่ผสมอยู่ในยาต่างๆ ยาสมุนไพร ยาลูกกลอนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนยาอย่างถูกต้อง อาจทำลายความแข็งแรงของมวลกระดูกได้การให้สารเคมีก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่มีการทำลายเซลล์กระดูก ซึ่งนำไปสู่โรคกระดูกพรุน
  3. บุหรี่ และ แอลกอฮอล์
     จะทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้น้อย จึงทำให้กระดูกไม่รับแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอ ต่อการสร้างความแข็งแรงของกระดูก และ ดื่มแอลกอฮอล์ จะลดประสิทธิภาพการดูดซึม ธาตุแคลเซียมในร่างกายทำให้กระดูกเสื่อมและหดลงเร็ว
  4. คาเฟอีน
    ไม่ว่าจะเป็นชา กาแฟ ช็อกโกแลต โกโก้ น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอื่นๆ  ก็ทำให้ กระดูกเสื่อม ได้ง่ายขึ้น เพราะคาเฟอีนจะทำให้ร่างกาย ขับเอาแคลเซียมออกไปจากร่างกายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้น้ำอัดลมยังมีกรดฟอสฟอรัสที่อาจกัดกระดูกให้กร่อนลงได้อีกด้วย
  5. ฮอร์โมน
    เรื่องของฮอร์โมนกับอายุที่มากขึ้น อาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่วัยหนุ่มสาวบางรายที่ ต้องเข้ารับการรักษาโรคอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศ ทำให้ฮอร์โมนเพศลดลง เช่น ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดมดลูก สตรีวัยหมดประจำเดือน
  6. ขาดวิตามินดี
    หากเก็บตัวอยู่ในบ้านตลอดเวลา หรือไม่เคยสัมผัสถูกแสงแดดยามเช้าที่มี วิตามินดี อยู่ด้วย อาจทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมไปใช้ในการสร้างกระดูกน้อยลง
  7. ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ
    ปริมาณแคลเซียมในร่างกายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่จะช่วยรักษาให้มวลกระดูกแข็งแรง หากไม่ได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอ  ตั้งแต่ วัยเด็ก วัยรุ่น วัยหนุ่มสาว ซึ่งเป็นช่วงที่ สามารถสร้างความหนาแน่นของ มวลกระดูก มากที่สุด**ก็เป็นเหตุให้ กระดูกเสื่อม และ กระดูกพรุน ได้


บทความที่เกี่ยวข้อง
สุดยอดนวัตกรรมไทย จาก ยู้ ลูกชิ้นปลาเยาวราช สู่ UNC แคลเซียมนวัตกรรมระดับในโลก คว้าเหรียญทองพร้อมรางวัลเกียรติยศที่ประเทศอังกฤษ 2 ปีซ้อน
ผลิตอาหารเสริม UNC+ ได้รับรางวัลเหรียญทองในงานThe International Trade Fair-Ideas, Inventions and New Products (iENA 2022) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-30 ตุลาคม 2565 ณ เมืองนูเรมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี iENA เป็นงานประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติที่สำคัญในสหภาพยุโรป ในแต่ละปีมีผลงานที่นักวิจัยทั่วโลกเข้าร่วมจัดแสดงมากกว่า 500 ผลงาน
13 เม.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy